บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การฝึกสติแบบธรรมชาติ


รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพเขียนเรื่อง “การฝึกสติแบบธรรมชาติได้ทุกที่ทุกเวลา” ไว้ในนิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 364 สิงหาคม 2009 โดยมีเนื้อหา บางส่วน ดังนี้

ดิฉันเคยไปเข้าค่ายฝึกสมาธิภาวนา ที่สถานปฏิบัติธรรม ครั้งละ 5 วัน 7 วันมาหลายรอบแล้ว ตอนอยู่ในค่ายจิตใจก็สงบดี ตอนกลับจากค่ายใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยมีอารมณ์ปะทุมากนัก

แต่อยู่ไปๆ ก็กลับมีอารมณ์ร้อน หงุดหงิด งุ่นง่าน โมโหผู้คนไปทั่วเหมือนเดิม

เมื่อมีความทุกข์ใจมากๆ ก็เข้าไปฝึกในค่ายปฏิบัติธรรมรอบใหม่ วนเวียนเช่นนี้อยู่หลายรอบแล้ว..."

ผู้บอกเล่าเรื่องนี้ เป็นพยาบาลหัวหน้างาน ดูแลลูกน้องหลายคน เป็นคนเก่ง ขยันทำงาน แต่ใจร้อน หงุดหงิดง่าย ลูกน้องทำอะไรมักจะไม่ค่อยถูกใจ ถูกเธอดุว่าอยู่เรื่อย

เมื่อมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยน ผมแนะนำให้ลองฝึกสติในชีวิตประจำวัน โดยเปรียบเปรยการฝึกสติ (ฝึกจิต/บริหารจิต)  เหมือนกับการฝึกกาย (ออกกำลังกาย/บริหารกาย) ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวัน

การไปฝึกหนักนานๆ ที ก็จะได้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เมื่อเว้นช่วงไป ความฟิต (ไม่ว่าทางกายหรือจิต) ก็จะจางหายไปเป็นธรรมดา

วิธีฝึกสติ แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ

แบบแรก คือ ฝึกสติตามรูปแบบนิยม เช่น ฝึกสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์ ฝึกโยคะ รำมวยจีน (2 ชนิดหลังนี้ ฝึกได้ทั้งกาย และจิตพร้อมกัน)

แบบนี้ต้องใช้เวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 30-60 นาที หรือทั้งวันหรือหลายๆ วัน (เช่น เข้าค่ายปฏิบัติธรรม) คนส่วนใหญ่ มักจะอ้างว่าไม่มีเวลาทำเป็นประจำทุกวัน หรือต้องพึ่งครูฝึก จึงนานๆ ทำที

ซึ่งไม่อาจทำให้สติแก่กล้า (ฟิต) ได้อย่างต่อเนื่อง

แบบที่สอง คือ ฝึกสติแบบธรรมชาติ (อยู่ในกิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน) ไม่ว่านั่ง นอน ยืน เดิน อาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว ดื่มน้ำ กวาดบ้าน ล้างจาน ซักผ้า รีดผ้า ขับรถ นั่งรอคน (หมอ) ฉีดยา เป็นต้น

วิธีนี้ สามารถทำได้ทุกวันๆ ละหลายๆ ครั้ง สามารถดำรงความแก่กล้า (ฟิต) ของสติได้อย่างต่อเนื่อง จะทำแบบนี้เดี่ยวๆ หรือทำร่วมกับแบบแรกก็ได้

ไม่ว่าจะเลือกทำแบบไหน ข้อสำคัญจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

บังเอิญในวันนั้น ได้พูดคุยกันระหว่างกินข้าว ก็เลยสอนเธอให้ฝึกเคี้ยวอาหารอย่างมีสติ อาหารแต่ละคำให้เคี้ยวเอื้อง  ช้าๆ และนับดูว่า เคี้ยวกี่ครั้งจึงจะละเอียด

พบว่า ถ้าเคี้ยวผักมักจะเคี้ยวถึง 40-60 ครั้ง (ปกติเรามักจะเคี้ยวลวกๆ ไม่กี่ครั้งก็กลืนเสีย แล้ว ไม่เคยใจจดจ่ออยู่กับการเคี้ยว เพราะต้องเร่งรีบกินให้หมดไวๆ)

นอกจากนี้ ก็ยังแนะวิธีอาบน้ำ กวาดบ้าน ล้างจานอย่างมีสติให้เธอลองไปทำดู

เมื่อพบเธออีกครั้งใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา เธอบอกว่าได้ลองฝึกดู พบว่ามีสติแก่กล้าขึ้น ใจเย็นลง แม้แต่สามีก็สังเกตเห็นว่าเธอนิ่งและเย็นลงกว่าเดิม


[วิพากษ์วิจารณ์]

การฝึกสติแบบธรรมชาติอย่างที่เขียนมานั้น ยังมีข้อบกพร่องมากมาย  แต่คนเขียนบทความชอบ ก็จึงเขียนมาแบบนั้น

การฝึกสติแบบนั้น เป็นการฝึกสติขั้นเด็กๆ เพราะ จะต้องทำใจอยู่กับ “ปัจจุบัน” ตลอดเวลา เฉพาะในเรื่อง่ายๆ ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย

แต่ถ้าต้องการใช้ “สติ” หรือ “สมาธิ” อย่างเข้มข้นขึ้น อย่างจริงจังขึ้น การฝึกสติแบบดังกล่าว ไม่สามารถทำได้เลย

ผมมีวิธีที่ดีกว่านั้น  คือ ผมได้พัฒนาวิชาธรรมกายให้เป็นสากลและเป็นวิชาการขึ้น โดยเรียกว่า “กายธรรมจินตภาพ”  โปรดดูวิดีโอที่สอนนักศึกษา 




การฝึกดังกล่าว เป็นการฝึกจินตภาพในงานวิจัยด้วย  งานวิจัยเรื่อง "ผลของการฝึกกายธรรมจินตภาพกับพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน"

ตอนนี้ กำลังเขียนรายงายวิจัยอยู่ ผลการวิจัยนั้น นักศึกษาเห็นว่า “เหล้า” ไม่ดี และไม่คิดจะดื่ม  คนที่ดื่มอยู่แล้วก็ลดลง  หลายๆ คน เลิกดื่มไปเลย

การฝึกกายธรรมจินตภาพนั้น  เราต้องอยู่ที่ท่าที่สบายที่สุด  ไม่ต้องนั่งขัดสมาธิ ดังนั้น  เราจึงได้ทุกที่ ทุกทาง โดยไม่มีใครรู้ว่าเรากำลังฝึกอยู่

ถ้านั่งที่โต๊ะทำงาน เราก็เอนตัวให้สบาย หลับตาทำไป  คนส่วนใหญ่ก็จะคิดว่า เราพักสายตา

เด็กนักศึกษาในวิดิโอนั้น ทำได้ทุกคน 

ข้อดีของกายธรรมจินตภาพก็คือ  เราจะมีสมาธิดีขึ้น ถึงแม้ตอนนั้น เราไม่ได้ทำสมาธิ  การฝึกสติอย่างบทความนั้น  มันต้องทำ สมาธิถึงจะดีขึ้น

แต่กายธรรมจินตภาพนั้น ถ้าเราเห็นดวง เห็นกายธรรมแล้ว  ในชีวิตประจำวัน เราจะมีสติเป็นอัตโนมัติ

คล้ายกับนักกีฬาต่างๆ เช่น นักฟุตบอล เป็นต้น  ปกติเขาก็จะซ้อมเทคนิคขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำ ก็เปรียบได้กับการฝึกกายธรรมจินตภาพ

แต่เมื่อเขาแข่งขันแล้ว ก็ไม่ต้องมานึกถึงพื้นฐานอยู่  ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ  นี่คือ ข้อดีของกายธรรมจินตภาพ ที่ฝึกสติธรรมดา ไม่สามารถทำได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น